วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

SWOT

·       Strengths
-          ภูเก็ตเบียร์มีองค์ประกอบที่แตกต่างและน่าสนใจกว่าทุกแบรนด์ เช่น ชื่อที่ไม่เหมือนใคร , แหลมพรหมเทพ แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของเกาะภูเก็ต ทำให้ผู้บริโภคเกิดการจดจำชื่อแบรนด์ได้ง่ายขึ้น รวมถึงการดีไซน์โลโก้บนขวดเบียร์ที่สะท้อนถึงบรรยากาศแห่งการพักผ่อน
-          มีความสด ใหม่ เพราะภูเก็ตเบียร์เป็นเบียร์ธรรมชาติที่ไม่เจือปนวัตถุกันเสีย
-          ภูเก็ตเบียร์เป็นเบียร์ยูนิเซ็กซ์ดื่มได้ทุก เพศ  โดยไม่ได้ขายแค่ตัวรสชาติของเบียร์ในขวด แต่ขายบุคลิกของเบียร์ที่ดื่มแล้วดูเก๋ บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ และความเป็นตัวตนที่มีอยู่เต็มเปี่ยม บุคลิกของแบรนด์เหล่านี้ ไม่เพียงสะท้อนผ่านชื่อของภูเก็ตเบียร์ แต่ยังผ่านรูปลักษณ์ของฉลากบนขวด ที่ใช้สีสันโทนสว่างสดใส และใช้ภาพของนกเงือก กับวิวแหลมพรหมเทพของเกาะภูเก็ต มาเป็นภาพประกอบโลโก้ 
-          ภูเก็ตเบียร์เป็นเบียร์ที่ได้รับรางวัลรางวัลเหรียญทอง สถาบัน Monde Selection ประจำปี 2006 ที่ประเทศเบลเยียม ซึ่งเป็นการการันตีได้ว่าเป็นเบียร์มีรสชาติถูกปากของผู้บริโภค
-          เบียร์ภูเก็ต เป็นเบียร์แรกและเบียร์เดียวที่ถูกจัดว่าเป็นเบียร์ท้องถิ่นของประเทศไทย และอาจเรียกได้ว่าภูเก็ตเบียร์เป็นเบียร์ที่เหมาะกับการผักผ่อน การใช้ชีวิตบนชายหาดหรือทะเล


·       Weaknesses
-          อายุของน้ำเบียร์มีอายุสั้น คือ มีระยะเวลาประมาณ 1 ปี ทำให้ต้องมีการผลิตใหม่ในทุกๆ 2-3 เดือน
-          เบียร์ภูเก็ตเป็นเบียร์ระดับซุปเปอร์พรีเมี่ยม ดังนั้นจึงวางขายเฉพาะพื้นที่ ทำให้บางครั้งหาบริโภคได้ยาก
-          สินค้าไม่มีความหลากหลาย คือ มีรูปแบบของการบรรจุขวดขนาด 330 มิลลิลิตรเพียงขนาดเดียว
-          ไม่มีโรงงานเอง แต่อาศัยการว่าจ้างโรงงานเบียร์ซานมิเกล ที่ จ.ปทุมธานี เป็นผู้ผลิตให้ ซึ่งการผลิตต่อครั้ง มีเงื่อนไขปริมาณขั้นต่ำต้องสั่งผลิตไม่น้อยกว่า 5 หมื่นลิตรขึ้นไป 
-          เบียร์ภูเก็ตมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าเบียร์ไทยอื่นๆ เพราะผลิตในปริมาณที่น้อย และจัดเป็นเบียร์ระดับสูงที่ผลิตจากวัตถุดิบชั้นเลิศ ซึ่งเหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคระดับบน




·       Opportunities
-          การได้รับรางวัลต่างๆมากมาย เช่น  รางวัลเหรียญทอง สถาบัน Monde Selection ประจำปี 2006 ที่ประเทศเบลเยียม และต่อมาได้รับเหรียญทอง ในปี 2007 และ2008 ในรางวัลเบียร์คุณภาพสูง ซึ่งรางวัลนี้จะเครื่องการันตีที่ช่วยในการโปรโมทคุณภาพและรสชาติเบียร์ว่าไม่น้อยหน้าใคร ที่สำคัญการได้รางวัลสามารถเป็นแรงเข้ามากระตุ้นยอดขายใหม่ๆ ให้เพิ่มขึ้นด้วย
-          เนื่องจากแบรนด์ภูเก็ตเบียร์ เป็นการตั้งชื่อชื่อจากจังหวัดชื่อดังซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ทำให้มีผลในแง่ของการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ (Brand Awareness) ได้ดี ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกอยากลิ้มลองรสชาติของภูเก็ตเบียร์ ซึ่งเหตุผลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการทำตลาดของแบรนด์ภูเก็ตเบียร์
-          จากข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียนที่ 6 ประเทศสมาชิก คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน  ต้องลดภาษีนำเข้าระหว่างกันลงเป็น 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2553 ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยสามารถส่งออกเบียร์ไปขายยังประเทศต่างๆ ด้วยอัตราภาษี 0%


·       Threats
-          การขายเบียร์ในประเทศไทยต้องโดนเก็บภาษีสรรพสามิตที่สูงถึง 62% ในขณะที่เบียร์ที่นำเข้าจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนไม่ต้องเสียภาษี ส่งผลให้เบียร์ต่างประเทศมีอิสระที่จะตั้งราคาได้ตามใจชอบ ขณะที่เบียร์ ซึ่งผลิตในไทยกลับต้องรับภาระภาษีที่หนักหนากว่า ในฐานะเป็นสินค้าที่มอมเมาประชากรของประเทศ
-          ปัญหาที่เกิดจากมาตรการภาครัฐ ปัจจุบันได้มีกฎหมายการควบคุมเกี่ยวกับการจัดจำหน่าย ระยะเวลาการจัดจำหน่าย อายุขั้นต่ำในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการควบคุมเกี่ยวกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจส่งผลต่อยอดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการทำกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ
-          แม้ว่าผู้ประกอบการในประเทศไทยจะสามารถส่งออกเบียร์ไปขายยังประเทศต่างๆ ด้วยอัตราภาษี 0% แต่กว่าครึ่งของประเทศที่เข้าร่วมข้อตกลงครั้งนี้ เป็นประเทศมุสลิม ที่คนส่วนใหญ่เคร่งครัดในศาสนา ทำให้ตลาดไม่ได้เปิดกว้างมากนัก และส่วนใหญ่ประเทศเหล่านี้ก็มีเจ้าตลาดที่ค่อนข้างแข็งแกร่งอยู่แล้ว อย่างเช่น ไทเกอร์ เป็นต้น ขณะที่ตลาดต่างประเทศหลักของเบียร์ไทยอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ลาว และกัมพูชา พม่า และเวียดนาม กลับยังไม่ได้เข้าร่วมในข้อตกลงครั้งนี้ จนกว่าจะถึงวันที่ 1 มกราคม 2558 หรืออีกประมาณ 6 ปีนับจากนี้
-          รสนิยมของผู้บริโภค  การเลือกบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สำหรับผู้บริโภคบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้บริโภคระดับกลาง-บน อาจเลือกโดยคำนึงถึงคุณลักษณะ อาทิ สี กลิ่น รส รวมไปถึงการเลือกซื้อตามความนิยม ความชอบส่วนตัวต่อแหล่งผลิต หรือแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากต่างประเทศมาจำหน่ายภายในประเทศมากขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมกับความต้องการของลูกค้า ส่งผลต่อการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น
-          ปัญหาด้านการแข่งขัน ภายหลังการปรับลดภาษีนำเข้าลงมาเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 ตามข้อตกลงอาฟตา คาดว่าจะกระตุ้นให้เกิดการนำเข้าเพิ่มขึ้น ทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากประเทศนอกกลุ่มอาเซียน ที่ย้ายฐานการผลิตเข้าไปตั้งโรงงานในประเทศอาเซียน ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทย ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น