วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ตลาดเบียร์ในอาเซียน


ตลาดเบียร์ในอาเซี่ยน
   การเปิดเสรีภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้าในวันที่ 1 มกราคม 2553 ในด้านหนึ่งนั้น จะส่งผลให้ผู้ผลิตของไทยมีโอกาสขยายตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปสู่ประเทศกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้นก็จะส่งผลกระทบต่อตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยเกิดการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมอันได้แก่ สิงคโปร์และไทย จะปรับลดภาษีนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงเหลือร้อยละ 0 ทันทีในปี 2553 ยกเว้นอินโดนีเซีย มาเลเซียและบรูไน จัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้นอกกลุ่มสินค้าที่ต้องลดภาษี เนื่องจากเป็นสินค้าที่ขัดต่อหลักศาสนา ส่วนฟิลิปปินส์จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 0-5 ในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่นั้น เวียดนาม พม่า ลาวจะปรับลดภาษีลงมาเหลือร้อยละ 0 ในปี 2558 แต่อัตราภาษีที่จัดเก็บในปี 2553 ก็อยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ยกเว้นลาวที่จัดเก็บภาษีปี 2553 ในอัตราร้อยละ 3-40 สำหรับกัมพูชานั้นจัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้นอกกลุ่มสินค้าที่ต้องลดภาษี เช่นเดียวกันกับอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน 
1.Indonesian Beer 
   อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ประชากรกว่าค่อนนับถือศาสนามุสลิม ส่งผลให้ประชากรเพียง 3% ของประเทศที่สามารถบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ทว่า อัตราที่ต่ำนี้กลับไม่ได้ช่วยลดขนาดของตลาดเบียร์ให้เล็กลงกว่าประเทศอื่น เนื่องจากอินโดนีเซียมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขนาดใหญ่เข้ามาทดแทน 

 ซาน มิเกล ของฟิลิปปินส์ เป็นผู้เล่นรายสำคัญในตลาดเบียร์อินโดนีเซีย รวมทั้งผู้ผลิตเบียร์ท้องถิ่นอย่างแบรนด์ Anker, Bali Hai และ Bintang ซึ่งไฮเนเก้นของเนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าของ 

 

Anker เป็นเบียร์ที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ไม่สูงมากประมาณ 5% รสชาติหวานแต่รู้สึกคล่องคอ ผลิตในโรงงานเดียวกับ Bali Hai และซาน มิเกล 

 

Bali Hai มีดีกรีแอลกอฮอล์ประมาณ 5% เช่นเดียวกับ Anker แต่ไม่มีฟองมากนัก ซึ่งแตกต่างจากเบียร์อินโดนีเซียอื่นๆ และมีรสชาติหวานไม่มากนัก 


 

Bintang เนื่องจากมีไฮเนเก้นเป็นเจ้าของ Bintang มีรสชาติไม่ต่างจากไฮเนเก้นมากนัก รวมถึงรูปลักษณ์ภายนอกอย่างเช่น ขวด และมีดีกรีแอลกอฮอล์ประมาณ 5% นอกจากนี้ Bintang ยังได้ปล่อยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทใหม่สู่ตลาดในชื่อแบรนด์ Green Sands ซึ่งมีรสชาติคล้ายเบียร์ที่ผสมมะนาวและมีดีกรีแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 1% 


San Miguel ซาน มิเกล เป็นบริษัทเบียร์ในฟิลิปปินส์ที่เข้ามาลงทุนผลิตเบียร์ในอินโดนีเซีย ซึ่งทำให้ซาน มิเกล ที่นี่มีรสชาติเหมือนกับซาน มิเกล ในฟิลิปปินส์ ซานมิเกล เป็นผู้เล่นใหญ่สุดในตลาดเบียร์ปัจจุบัน และเป็นคู่แข่งคนสำคัญของเบียร์อื่นๆ ในอินโดนีเซีย โดยมีดีกรีแอลกอฮอล์ 5% และมีรสขมเล็กน้อย 



2. Laotian Beer 
   สองสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ควบคุมตลาดของลาวในปัจจุบัน คือ เหล้าหมักจากข้าวแบรนด์ Lao Lao และ Beerlao ผลิตภัณฑ์เบียร์ที่ผลิตโดย Lao Brewing Company ตั้งแต่ปี 1973 โดยมีส่วนแบ่งสูงถึง 99% ของตลาด  นอกจากประเทศลาวแล้ว เบียร์ลาว ยังสามารถหาซื้อได้ทั่วเอเชียแปซิฟิก และใน
สหราชอาณาจักร ก่อนหน้านี้ Lao Brewing Company ยังเคยผลิตเบียร์ชื่อ 33 Export สำหรับส่งออกขายนอกประเทศโดยเฉพาะ แต่หยุดผลิตเมื่อช่วงปลายของทศวรรษที่ 90 

             Beerlao Lager ส่วนใหญ่มักเรียกสั้นๆ ว่า Beerlao เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ยังคงความดั้งเดิมไว้ก่อนที่เบียร์แบบ Light และ Dark จะเปิดตัว เป็นเบียร์ที่สร้างความสดชื่นให้กับผู้ดื่มได้อย่างมากด้วยสีทองอำพัน และไม่ค่อยมีฟองมากนัก มีดีกรีแอลกอฮอล์ 5% จำหน่ายในกระป๋องขนาด 330 มิลลิลิตร และขวดขนาด 640 มิลลิลิตร  ส่วน Beerlao Light มีดีกรีแอลกอฮอล์เพียง 2.9% ขณะที่ Beerlao Dark มีดีกรีแอลกอฮอล์สูงถึง 6.5% และมีสีเหลืองอำพันมากกว่า Dark Beer ทั่วไป 

 

3.Malaysian Beer 
   ตลาดเบียร์ของมาเลเซียค่อนข้างต่างจากที่อื่น เพราะเบียร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในมาเลเซีย เป็นของบริษัทต่างชาติ อย่างเช่น คาร์ลสเบิร์กจากเดนมาร์ก และ Anchor Beer ของไฮเนเก้นที่ผลิตจากประเทศเพื่อนบ้าน สิงคโปร์ ส่วนเบียร์จากประเทศอื่นในเอเชียก็ผลิตเบียร์และจัดจำหน่ายในมาเลเซียโดยเฉพาะ อย่างเช่น สิงห์ และลีโอของไทย หรือ Stag และซาน มิเกล ของฟิลิปปินส์ เบียร์ในรูปแบบขวดเป็นที่นิยมมากสุดในมาเลเซีย โดยดราฟท์เบียร์มีส่วนแบ่งในตลาดเพียง 12% เท่านั้น ส่วนเบียร์ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือเบียร์กระป๋องที่ผสมกับมะนาว 

Tiger Beer ต้นกำเนิดไทเกอร์ เบียร์ อยู่ที่สิงคโปร์ แต่ก็มีแหล่งผลิตอยู่ในประเทศมาเลเซีย เพื่อป้อนตลาดมาเลเซียโดยเฉพาะ ไทเกอร์กลายเป็นเบียร์ที่ได้รับความนิยมทั่วเอเชีย เนื่องจากบริษัทเจ้าของ
         ไทเกอร์ได้ตั้งโรงงานไว้ทั่วภูมิภาค 




          4.Philippine Beer 
  เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คนฟิลิปปินส์ชื่นชอบมากที่สุด และยังเป็นประเทศที่มี ซาน มิเกล โรงงานผลิตเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่อีกด้วย ซาน มิเกล จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1890 โดยชาวสเปน หลังจากนั้นเป็นต้นมา ซาน มิเกลได้เติบโตจนเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์ และเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเบียร์หลายแห่ง รวมถึง Anker ในอินโดนีเซีย และ Jame Boag ในออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม แม้ซาน มิเกล จะเข้มแข็งแค่ไหนในตลาดเบียร์ฟิลิปปินส์ แต่ก็ยังมีโอกาสอีกมากสำหรับผู้ผลิตเบียร์รายอื่นๆ ในเอเชียเช่นกัน 

San Miguel ซาน มิเกล ผลิตเบียร์หลากหลายเซกเมนต์ในฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย San Miguel Pale Pilsner, Super Dry, Strong Ice, Red Horse และ Gold Eagle แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ แบรนด์ Pale Pilsner ที่ค่อนข้างเบากว่าแบรนด์อื่น 

 

Colt 45 ผลิตโดย Asia Brewery ซึ่งได้รับการอนุญาตให้ผลิตเช่นเดียวกับเบียร์ Lone Star, Stag และ Carlsberg หลายคนบอกว่า Colt 45 ที่มีดีกรีแอลกอฮอล์ 6.5% นั้นค่อนข้างนุ่ม และดื่มง่าย เมื่อเทียบกับที่ผลิตในอเมริกา 

 
Beer Na Beer เบียร์ดีกรีแอลกอฮอล์ 6% นี้ค่อนข้างเป็นเบียร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากค่าย Asia Brewery โดยมีรสชาตินุ่ม และตั้งราคาขายที่เหมาะสมกับค่าครองชีพของคนฟิลิปปินส์ และได้รับความนิยมทั้งในบาร์ หรือแม้กระทั่งแบบขวด และกระป๋อง 

 

5. Vietnamese Beer 
   เบียร์ที่ดังที่สุดในเวียดนามเป็นที่รู้จักในชื่อ Bia Hoi ซึ่งหมายถึง เบียร์สด และถูกผลิตขึ้นในโรงเบียร์กว่า 300 แห่งทั้งขนาดใหญ่และเล็กที่กระจายอยู่รอบประเทศเวียดนาม 

Bia Hoi ไม่ได้ใส่สารกันบูด และมักบริโภคในวันที่ผลิต หาซื้อได้ทั่วประเทศทั้งในบาร์ คาเฟ่ และแม้กระทั่งรถเข็นขายของข้างถนน มักจัดจำหน่ายมาในรูปของถังขนาด 100 บาร์เรล ก่อนที่จะขายปลีกโดยใส่ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกขนาดย่อม ซี่งจากการประเมินคาดว่า Bia Hoi ขายได้วันละ 300,000 – 400,000 ลิตร 

 

ในทางกลับกัน เบียร์แบบกระป๋องก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีราคาจำหน่ายที่สูงกว่า โดยแบรนด์ที่ได้รับความนิยมมากสุด ได้แก่ 333 และ Hue Beer 

333 ผลิตโดย Saigon Beer Co ซึ่งยังผลิตเบียร์ในชื่อแบรนด์ Saigon Lager และ Saigon Export โดยเบียร์ 333 เริ่มผลิตครั้งแรกเมื่อปี 1893 ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาของฝรั่งเศส ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น 33 และเปลี่ยนกลับเป็น 333 อีกครั้งในปี 1975 

 
Hue Beer  เบียร์ดีกรีแอลกอฮอล์ 5.0% ผลิตโดย Hue Brewery ซึ่งมีเบียร์คาร์ลสเบิร์กเป็นเจ้าของ จุดเด่นอยู่ที่ที่สีเหลืองอำพัน ฟองเบียร์ที่หายไปอย่างรวดเร็วหลังจากรินออกจากขวดไม่นาน และมีกลิ่นหอมของข้าว นอกจาก Hue Beer แล้ว บริษัทนี้ยังผลิต Festival Beer สำหรับตลาดเวียดนามอีกด้วย 


6. Cambodia Beer
   ปัจจุบันตลาดเบียร์ในกัมพูชามีเจ้าของพื้นที่เป็นยักษ์ใหญ่ 2 บริษัท คือ กลุ่มเอเชียแปซิฟิก บริวเวอรี (Asia Pacific Brewery) จากสิงคโปร์ ซึ่งมีโรงงานอยู่ในกรุงพนมเปญ กับคาร์ลสเบอร์กเบียร์(Carlsberg) แห่งเดนมาร์ก ที่เข้ากัมพูชามาหลายปี และปัจจุบันครองส่วนแบ่ง 60% กับ 26% ตามลำดับ  คู่แข่งสำคัญอีกรายหนึ่งซึ่งครองตลาดที่เหลือคือ บริษัทแคมบรูว์ (Cambrew) ตั้งโรงงานที่เมืองท่าสีหนุวิลล์ ผลิตเบียร์ยี่ห้อ อังกอร์” (Angkor Beer)  ซึ่งเป็นแบรนด์เก่าแก่  โดยชูสโลแกน My Country, My Beer  เพราะฉะนั้นในกัมพูชาทุกวันนี้จึงมีเบียร์ดังเกือบจะทุกยี่ห้อเท่าที่จะหาพบในทวีปเอเชียวางจำหน่ายทั่วไป


Angkor Extra เบียร์ประจำชาติของกัมพูชา ผลิตโดยบริษัท Cambrew (Carlsberg) ที่ประเทศกัมพูชา มีระดับแอลกอฮอล์ 8%  มีรสชาติดื่มง่าย รู้สึกนุ่มในปาก

 


Guinness Foreign Extra Stout ผลิตโดยบริษัท Guinness Anchor Berhad (Diageo/Asia Pacific Breweries-Heineken) ที่ประเทศมาเลเซีย มีระดับแอลกอฮอล์ 6.8%  และมีรสชาติหวาน นุ่มลื่น  

Kingdom Pilsener   ผลิตโดยบริษัท Kingdom Breweries (Cambodia) Ltd. ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มีระดับแอลกอฮอล์ 4.7% มีรสชาตินุ่ม เบาๆ ไม่หวานมาก

7. Myanmar Beer
    เบียร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในพม่า คือ Myanmar Beer ซึ่งรสชาติจะคล้ายเบียร์ลาวแต่หวานน้อยกว่า เบียร์ไม่ฉุน กินง่าย มีดีกรีแอลกอฮอล์ประมาณ 7.7%
Mandaley Lager  ผลิตโดยบริษัท Mandalay Brewery ที่มันดาเลย์  ประเทศพม่า มีระดับแอลกอฮอล์ 5% มีรสชาติหวาน กลิ่นหอม

8. Brunei Beer
   ชาวบรูไนนับถือศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัด จึงห้ามการดื่มและครอบครองสุราในที่สาธารณะ และไม่มีการจำหน่ายสุราแม้แต่ในโรงแรม สำหรับชาวต่างชาติสามารถซื้อและนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาในประเทศบรูไนได้ไม่เกิน 2 ขวด และเบียร์ 12 กระป๋องต่อการเดินทางเข้าประเทศ 1 ครั้ง และต้องแสดงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมดที่นำเข้ามาแก่เจ้าหน้าที่ที่สนามบิน พร้อมทั้งเซ็นหนังสือรับรองด้วยครับ ที่สำคัญต้องดื่มภายในบ้านเท่านั้น

9. Singapore Beer
   หนึ่งในแบรนด์อันทรงพลังที่สุดของสิงคโปร์ คือเบียร์ไทเกอร์ ก่อตั้งในปี 1931 โดยผู้ผลิตเบียร์ชื่อดังของเนเธอร์แลนด์คือ Heineken ซึ่งได้ร่วมกับ Fraser&Neave ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อ Malayan Breweries Limited (ขณะนี้คือ Asia Pacific Breweries (APB) ยอดขายเบียร์ Tiger นอกตลาดสิงคโปร์เติบโตร้อยละ 6 แต่คนที่นี่ดื่มได้ไม่เกี่ยงสัญชาติ แต่เบียร์ที่นิยมคือ

Hitachino Nest beer ผลิตโดยบริษัท Kiuchi Brewery ที่เมืองไอบารากิประเทศญี่ปุ่น มีระดับแอลกอฮอล์หลายระดับ และมีหลายรสชาติ เช่น Hitachino Nest Japanese Classic Ale มีกลิ่นหอมและรสชาติหวานของคาราเมลกับผลไม้ที่มีรสจัด , Hitachino Nest  Nipponia มีกลิ่นหอมขององุ่นขาว     แครอท คาราเมล เป็นเบียร์ที่ดื่มง่าย

10. Thai Beer
    กว่า 90% ของตลาดเบียร์เมืองไทยจะถูกถือครองด้วย 4 Brand หลัก คือ ช้าง สิงห์ ไฮเนเก้น และ   ลีโอ โดยตลาดพรีเมียมมีมูลค่าตลาดประมาณ 8,000 ล้านบาท  มีไฮเนเก้นเป็นเจ้าตลาด 84%  คาร์ลเบอร์ก 12% อื่นๆ4% ตลาดสแตนดาร์ดมีมูลค่าตลาด 9,000 ล้านบาท มีสิงห์เป็นเจ้าตลาด100% และตลาดอีโคโนมี่ มีมูลค่าตลาด 6,200 ล้านบาท มีช้างเป็นเจ้าตลาด 78%  ลีโอ 20% อื่นๆ2%  
Heineken มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เมืองแอมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเบียร์พรีเมี่ยมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย ด้วยเป็นเบียร์ที่มีต้นกำเนิดมายาวนาน บนบรรจุภัณฑ์จึงได้ใส่ปีที่ก่อตั้ง แบรนด์ไว้ด้วย พร้อมทั้งใส่ตราและชื่อรางวัลที่ได้รับตั้งแต่ปี ค.ศ.1875 เพื่อการันตีถึงความเก๋าและคุณภาพของเบียร์ที่มีมาตั้งแต่เริ่มต้น แต่บนบรรจุภัณฑ์ของไฮเนเก้นไม่ได้ระบุถึงส่วนผสมที่ใช้ในการผลิต  มีระดับแอลกอฮอล์ประมาณ 5% 
Singha Beer ของค่ายบุญรอด บริวเวอรี่ จัดเป็นแบรนด์เก่าแก่ที่อยู่คู่กับไทยมานาน ในฐานะเป็นเบียร์ไทยอันดับ 1 ในตลาดสแตนดาร์ด เป็นเบียร์ที่มีรสชาติดีแบบเบียร์เยอรมัน 
เบียร์ช้าง ความสำเร็จที่พลิกโฉมวงการเบียร์ของเมืองไทย ภายใต้การผลิตของบริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด  วันนี้เบียร์ช้างได้ผงาดอยู่ใน 20 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกและหลายประเทศในยุโรป เป็นเบียร์ที่มียอดขายสูงสุดในตลาดอีโคโนมีและครองใจนักดื่มทั่วโลก ด้วยปริมาณแอลกอฮอล์ 6.4%

เอกสารอ้างอิง http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=84615

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น